ธุรกิจเดย์สปา

ธุรกิจเดย์สปา
เดย์สปา
ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ

ภาวะเศรษฐกิจและปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความเครียดจึงหันมาเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพกันมากขึ้น การใช้ธรรมชาติบำบัดเพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายและผ่อนคลายความตึงเครียดเป็นวิธีหนึ่งที่หลายคนเลือกใช้แทนการบำบัดด้วยยารักษาโรคธุรกิจและบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพจึงได้รับความสนใจตามไปด้วย โดยเฉพาะ สปาธุรกิจบริการด้านสุขภาพซึ่งมีแนวโน้มของการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะย่านธุรกิจในกรุงเทพฯและเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ผู้ประกอบการต่างตอบรับกระแสนิยมธรรมชาติด้วยการพัฒนาธุรกิจสปาเพื่อดึงดูดลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการ
สปา หรือSPA มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Sanus Per Acqua” หมายถึง การมีสุขภาพดีด้วยน้ำ(Health through water จัดเป็นการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการใช้น้ำบำบัด เช่น อาบน้ำในบ่อน้ำพุร้อนแช่ตัวในน้ำแร่ แช่น้ำนม อบตัว อบผิวด้วยไอน้ำ บำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์นานาชนิด เป็นต้น
สปานอกจากจะเป็นกิจกรรมการบำบัดสุขภาพด้วยน้ำแล้ว ยังประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบริการด้านโภชนาการ การออกกำลังกายและความสวยงาม เป้าหมายของกิจกรรมเหล่านี้คือ การมุ่งสนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป โดยกิจกรรมสปามีองค์ประกอบที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 ดังนี้
รูป จากสถานที่ซึ่งมีการสร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น สงบ รู้สึกผ่อนคลายด้วยความสดชื่น จากธรรมชาติ เช่น บ่อน้ำพุร้อน มุมสงบของทะเล ป่าเขา หรือการตกแต่งสถานบริการสปาด้วยสีสันของแมกไม้นานาพันธุ์
รส จากอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณสมบัติช่วยขับสารพิษในร่างกายและเสริมสร้างสุขภาพควบคู่กันไปด้วยศาสตร์แห่งโภชนาการ
กลิ่น จากการบำบัดด้วยพฤกษาธรรมชาติหรือสมุนไพร เพื่อสร้างความสมดุลของร่างกาย จิตใจและวิญญาณ
เสียง จากการนำเสียงเพลงบรรเลงมาช่วยในการผ่อนคลาย เปิดโอกาสให้คนหลบเลี่ยงจากเสียงรบกวน มาแสวงหาความสงบในสถานบริการสปา โดยมีความเชื่อกันว่าเสียงมีพลังในการบำบัดโรค
สัมผัส จากการบำบัดด้วยการนวดเพื่อผ่อนคลาย โดยอาจนำภูมิปัญญาตะวันตกมาผสานกับการนวดแผนโบราณของแต่ละท้องถิ่นก็ได้
องค์กรสปาระหว่างประเทศ (International Spa Association : ISPA-Europe) ซึ่งจัดตั้งขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมสปา ได้ให้คำจำกัดความของสปาว่าสปา คือ ช่วงเวลาแห่งความรู้สึกสัมผัสที่เกี่ยวกับการผ่อนคลาย ความสงบทางจิตใจ การฟื้นฟูสุขภาพ และความเพลินเพลินใจ และ ได้แบ่งธุรกิจสปาออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
1. Destination Spa : สถานบริการสปาที่ให้บริการด้านการดูแลและเสริมสร้างสุขภาพโดยเฉพาะโดยมีบริการห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับผู้ใช้บริการอย่างครบวงจร ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องเข้าพักและเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โปรแกรม ที่สถานบริการได้จัดเตรียมไว้ เช่น โปรแกรมพักผ่อนคลายเครียด โปรแกรมทำสมาธิและดูแลสุขภาพจิต เป็นต้น
2. Resort / Hotel Spa : สถานบริการสปาที่อยู่ในรีสอร์ตหรือโรงแรมซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่พักตากอากาศ ในทำเล
ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ เช่น ริมทะเล ภูเขา บ่อน้ำร้อน สปาประเภทนี้เกิดขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยบริการ สปา นอกเหนือจากการใช้บริการห้องพัก
3. Day Spa หรือ City Spa : สถานบริการสปาที่มีรูปแบบการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว ขั้นตอนการบริการ ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้บริการได้ในระหว่างวัน จึงไม่จำเป็นต้องมีห้องพักไว้บริการที่ตั้งของสถานบริการสปาประเภทนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ หรือย่านธุรกิจสำคัญ ๆที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้ง่าย และเน้นการให้บริการเสริมความงาม การผ่อนคลายความตึงเครียดด้วย น้ำมันหอมระเหยเป็นบริการสปาที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีเวลาน้อยหรือผู้ที่ทำงานอยู่ในเมือง
4. Medical Spa : สถานบริการสปาที่มีการบำบัดรักษาควบคู่กับศาสตร์ทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์บางอย่าง การให้บริการจะอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สปาประเภทนี้มักอยู่ในสถานรักษาพยาบาล เช่น โรงพยาบาล คลินิก เป็นต้น
5. Mineral Spring Spa : การให้บริการสปาตามแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นบ่อน้ำแร่ หรือน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
6. Club Spa : สถานบริการสปาที่มีการผสานกับการออกกำลังกาย เพื่อบริการสมาชิกที่ต้องการการผ่อนคลายหลังจากออกกำลังกาย
7. Cruise Ship Spa : เป็นการให้บริการสปาบนเรือสำราญผสานกับการออกกำลังกาย และการจัดเตรียมอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพกายเพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความสุขสบาย ผ่อนคลายและปลอดโปร่งในระหว่างการเดินทาง
โครงการผลิตหนังสือองค์ความรู้ SMEs : คัมภีร์108ธุรกิจ โดยสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) จะกล่าวถึงเฉพาะธุรกิจเดย์สปาซึ่งเป็นสปาที่มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงและสามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่าธุรกิจสปาประเภทอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจจะลงทุนในธุรกิจเดย์สปาเท่านั้น
แ น ว ท า ง ใ น ก า ร เ ริ่ ม ต้ น . . . ธุ ร กิ จ เ ด ย์ ส ป า

คุณสมบัติของผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนดำเนินธุรกิจเดย์สปา ควรคำนึงถึงคุณสมบัติพื้นฐานของตนเอง ดังนี้

มีความสนใจในเรื่องสุขภาพ
ผู้ประกอบการควรมีพื้นฐานความรู้และความสนใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ และ ชอบใช้บริการเพื่อสุขภาพตามสถานบริการต่าง ๆ เช่น ศูนย์ออกกำลังกาย เป็นต้น

มีใจรักในงานบริการ
สปาเป็นธุรกิจประเภทให้บริการ ผู้ประกอบการควรมีความพร้อมและมีใจรักในการให้บริการ มีความเป็นกันเองและอัธยาศัยดี เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความประทับใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีก

ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม
ทำเลที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจเดย์สปา ควรอยู่ในย่านธุรกิจหรือย่านชุมชนที่มีคนทำงานหรือชาวต่างชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ย่านถนนสีลม สาทร สุขุมวิท เป็นต้น

มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสปา
ผู้ประกอบการควรมีความรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการให้บริการ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร การใช้ การเก็บรักษา ตลอดจนการผสมสูตรสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้า

มีเงินลงทุน
การทำธุรกิจเดย์สปาต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง โดยเงินทุนหมุนเวียนส่วนใหญ่จะใช้ในการซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับการให้บริการ สำหรับการลงทุนในธุรกิจนี้ผู้ประกอบการควรมีเงินลงทุนที่เพียงพอ
 การตลาด
 ภาพรวมการตลาด
 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
 ธุรกิจหลักและธุรกิจเสริม
 ส่วนผสมทางการตลาด
- ผลิตภัณฑ์และบริการ
- การกำหนดอัตราค่าบริการ
- สถานที่
- การส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์
 สภาพการแข่งขันในตลาด

การผลิต / บริการ
 ขั้นตอนการให้บริการ
 การเตรียมความพร้อมก่อนให้บริการ
 วัสดุ / อุปกรณ์ / ผลิตภัณฑ์
 การจัดหาสินค้าและวัตถุดิบ
 การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
 การบริหารธุรกิจเดย์สปา
โครงสร้างองค์กร
 การคัดเลือกพนักงาน
 การคิดค่าตอบแทน / เงินเดือนสำหรับพนักงาน
 การฝึกอบรมพนักงาน

การเงินและการลงทุน
 การลงทุนของธุรกิจเดย์สปา
 โครงสร้างเงินลงทุน
 ระยะเวลาในการคืนทุน
 การติดต่อหน่วยราชการ
 อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ

 ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น